วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเภทของกล้วยไม้้

  แบ่งตามลักษณะการเจริญเติบโตได้ 2 ประเภทคือ
               1. ประเภทแตกกอ (Sympodial) ได้แก่ กล้วยไม้ในสกุลหวาย แคทลียา และรองเท้านารี กล้วยไม้ประเภทนี้มีส่วนของเหง้าเจริญ ไปตามแนวนอนของ เครื่องปลูก และที่โคนลำลูกกล้วยติดกับเหง้าจะมีตาที่สมบูรณ์ 2 ตา เมื่อลำลูกกล้วยเจริญจนสุดลำตาที่โคนตาหนึ่งจะแตกออกมาเป็น ลำใหม่ ส่วนตาอีกข้างหนึ่งพักตัว ลำที่เกิดก่อนซึ่งเป็นลำที่มีอายุมากเรียกว่าลำหลัง ส่วนลำที่แตกใหม่มีอายุน้อยกว่าเรียกว่าลำหน้า สำหรับตาที่อยู่บนลำที่เจริญเต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นตาดอก

  2. ประเภทแวนด้า (Monopodial) เป็นกล้วยไม้ที่มีการเจริญเติบโตขึ้นไปทางส่วนยอด คือ ตาที่ยอดจะแตกใบใหม่เจริญขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนโคนต้นจะออก รากไล่ตามยอดขึ้นไป ได้แก่ กล้วยไม้สกุลแวน    ด้า   ช้าง กุหลาบ เข็ม และแมลงปอ

       กล้วยไม้ที่เหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ตัดดอกควรมีจุดเด่นทั้งในด้านดอกและการเจริญเติบโต คือ เป็นต้นที่ปลูกเลี้ยงง่าย ต้านทานโรค เจริญเติบโตเร็ว รูปทรง ต้นแข็งแรง ให้ดอกดก ดอกขนาดใหญ่ สีสด กลีบดอกหนา รูปทรงดอกสมบูรณ์ ก้านช่อแข็งแรง ก้านยาวตรง ดอกเรียงบนช่อได้ระเบียบสวยงามและบานได้ทน

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

การปลูกกล้วยไม้


        การเลือกทำเลปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อตัดดอกขายนั้นควรใกล้แหล่งน้ำที่สะอาด pH ของน้ำประมาณ 5.2 มีสภาพอากาศดี การคมนาคมสะดวกเพื่อความรวดเร็วในการขนส่งดอกกล้วยไม้ ซึ่งเสียหายได้ง่าย การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดีนั้น นอกจากต้องมี การดูแลที่ดีมีการให้ปุ๋ย ฉีดยาป้องกันโรค และแมลงในระยะที่เหมาะสมแล้วยังจำเป็นต้องมีโรงเรือน


โรงเรือนปลูกกล้วยไม้          การสร้างโรงเรือนมีจุดประสงค์เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการเจริญเติบโตและการออกดอกของกล้วยไม้ และเพื่อจัดวาง ต้นกล้วยไม้ให้เป็นระเบียบ สะดวกแก่การทำงาน โดยสร้างหลังคาโรงเรือนเพื่อพรางแสงให้เหลือ 50-70% ตามความต้องการของกล้วยไม้แต่ละชนิด (ตารางที่ 1) โครงสร้างของโรงเรือนควรแข็งแรง มีอายุการใช้งานมากกว่า 3 ปีขึ้นไป
ในปัจจุบันนิยมสร้างโรงเรือน 2 แบบคือ

1. สร้างโรงเรือนหลังใหญ่แล้วสร้างโต๊ะวางกล้วยไม้หรือราวแขวนไว้ภายใน
2. สร้างโต๊ะวางกล้วยไม้ และใช้ไม้ต่อจากโต๊ะขึ้นไปเพื่อทำหลังคา
โครงสร้างของโรงเรือนควรเป็นเสาคอนกรีตหรือแป๊ปน้ำ ฝังลึกในดิน 50 ซม. โรงเรือนสูง 2-3 เมตร ใช้ตาข่ายไนล่อนหรือซาแรนคลุมหลังคา เนื่องจากมีน้ำหนักเบาใช้ได้ง่าย และมีราคาถูกโดยขึงให้ตึงและยึดติดกับลวดให้เรียบร้อย

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงกล้วยไม้ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย โดย นายระพี สาคริก
ประเทศไทยเป็นประเทศร้อน ที่มีพันธุ์กล้วยไม้ป่านานาชนิดอยู่ตามธรรมชาติ สามารถจะนำมาศึกษาเพาะเลี้ยง เพื่อการอนุรักษ์ ขยายพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ให้เกิดประโยชน์ในด้านสังคม เศรษฐกิจ และอนุรักษ์ธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ประกอบกับสภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติของประเทศไทยเหมาะสมแก่การเลี้ยงกล้วยไม้โดยไม่ต้องลงทุนมากนัก การเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทยจึงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๐ ในหมู่ของผู้สูงอายุและมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอสมควร ซึ่งในขณะนั้นความเจริญทางสังคม และเศรษฐกิจของประเทศไทยยังไม่กว้างขวางนัก การส่งเสริมการเลี้ยงกล้วยไม้อีกระยะหนึ่งได้เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๐ วงการกล้วยไม้ได้มีการนำกล้วยไม้พันธุ์ต่างๆจากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยง และมีการผสมพันธุ์กันบ้างแต่ยังจำกัดวงอยู่เช่นเดิม ความรู้ทางวิชาการจึงมิได้กระจายออกไปเท่าที่ควร และทรัพยากรต่างๆ ก็ยังมิได้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจนด้วย ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ จึงได้มีการเปิดแนวความคิดใหม่ออกไปสู่มุมกว้าง ได้มีการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ ในการเพาะเมล็ดกล้วยไม้แบบวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพสูง และนำออกเผยแพร่ เพื่อให้คนทุกระดับฐานะนำไปปฏิบัติได้ อันเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนรักและสนใจต้นไม้ เพื่อการพัฒนาทางจิตใจ และเป็นการส่งเสริมการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจด้วย

พันธุ์กล้วยไม้
ได้มีการส่งเสริมให้นำเอาพันธุ์ไม้ ซึ่งชนรุ่นก่อนๆได้นำเข้ามาจากต่างประเทศ มาพิจารณาเน้นความสำคัญในด้านการผลิตเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ร่วมกันไปกับการชักจูงให้ประชาชนได้สนใจพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองที่มีอยู่ในประเทศไทย เพื่อนำมาคัดพันธุ์ ผสมพันธุ์ และผลิตลูกผสมใหม่ๆ แปลกๆ ออกมาสู่สังคมทั้งในและต่างประเทศด้วย
สกุลกล้วยไม้ที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศอย่างแพร่หลายมีตัวอย่างเช่น สกุลหวาย คัทลียา ออนซีเดียม (Oncidium)แวนดา ฟาแลนอปซิส (Phalaenopsis) รินคอสไทลิสหรือสกุลช้าง (Rhynchostylis) แมลงปอลาย (Arachnis) แอสโคเซนทรัมหรือเข็ม (Ascocentrum) และแวนดอปซิส (Vandopsis) เป็นต้น กล้วยไม้สกุลต่างๆ ตามที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ทั้งหมด แม้จะมีบางสกุลและบางชนิดซึ่งถูกนำมาจากภูมิภาคอื่นของโลก แต่ก็ได้ปรากฏผลว่า เจริญงอกงามดีในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย จึงได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนสนใจ และผสมพันธุ์ผลิตกล้วยไม้ลูกผสมใหม่ๆ มีลักษณะสวยงามในแบบแปลกออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศหนึ่งซึ่งมีผลงานผสมพันธุ์กล้วยไม้เมืองร้อน เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศต่างๆทั่วโลก

เรือนเลี้ยงกล้วยไม้
เนื่องจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติของประเทศไทยเหมาะสมแก่การเลี้ยงกล้วยไม้ การสร้างเรือนเลี้ยงกล้วยไม้จึงไม่ต้องลงทุนอย่างในประเทศหนาว นอกจากนั้นอาจมีกล้วยไม้บางชนิดซึ่งสามารถปลูกกลางแจ้งได้ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างเรือนกล้วยไม้เพื่อบังร่มเงาให้เลยก็ได้ นอกจากนั้นในภูมิประเทศบางแห่งของประเทศไทย เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลบางท้องที่อาจเลี้ยงกล้วยไม้บางชนิดได้โดยไม่ต้องสร้างเรือนกล้วยไม้เลยเพราะการหมุนเวียนถ่ายเทของกระแสลม มีส่วนช่วยลดความร้อนจากแสงแดดได้มากพอสมควร ในสภาพเช่นนี้จะปรากฏว่ากล้วยไม้เจริญแข็งแรงและสมบูรณ์ดี เพราะสามารถรับแสงแดดอันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตได้อย่างเต็มที่ โดยไม่มีความร้อนรุนแรง ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้นั้นๆ
โดยทั่วๆไปการสร้างเรือนกล้วยไม้ในประเทศไทย นิยมใช้ไม้ระแนงตีเว้นช่องอย่างโปร่งๆ และทิศทางในการตีไม้ระแนงนั้น วางตามยาวระหว่างทิศเหนือกับทิศใต้ ทั้งนี้เพื่อให้เงาไม้ระแนงสามารถเคลื่อนตัวได้ตลอดวัน สอดคล้องกันกับการเคลื่อนตัวของดวงอาทิตย์ อันเป็นต้นกำเนิดของแสงแดด ผลจากสิ่งนี้จะช่วยให้กล้วยไม้ ซึ่งเลี้ยงอยู่ในเรือนได้รับแสงแดดโดยทั่วถึง
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังๆ การเลี้ยงกล้วยไม้ได้ขยายวงกว้างออกไปมาก ประกอบกับปัญหาป่าไม้ถูกทำลาย ทำให้ไม้มีราคาสูงขึ้น แต่การเลี้ยงกล้วยไม้ก็เป็นกิจกรรมที่สังคมยอมรับในผลประโยชน์ จึงได้มีผู้คิดนำวัสดุอย่างอื่นมาใช้แทนไม้ระแนง อาทิเช่น ไม้รวกผ่าซีก ผ้าไนลอนซึ่งทออย่างโปร่งๆ สำหรับใช้กรองแสงในการปลูกต้นไม้ ซึ่งผลิตในต่างประเทศ เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

10 วิธี ออกกำลังกายให้เป็นนิสัย

ออกกำลังกายให้เป็นนิสัย ให้รูปร่างที่สวยงามและร่างกายแข็งแรง
  เคยไหมคะ ที่อยากลดหุ่นให้กลับมาเพรียวสวย หรืออยากให้ร่างกายแข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย แต่จนแล้วจนรอดก็ออกกำลังกายให้เป็นนิสัยไม่ได้สักที

เรามีเคล็ดง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถออกกำลังกายให้เป็นนิสัย เพื่อรูปร่างที่สวยงามและร่างกายที่แข็งแรงค่ะ
 1.ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ – ไม่ว่าจะเป็นยกน้ำหนัก วิ่ง ตีเทนนิส ปั่นจักรยาน เข้าคอร์สแอโรบิค ล้วนช่วยให้สุขภาพดี ไม่จำเป็นต้องไปฟิตเนสหรือซื้ออุปกรณ์ต่างๆ แต่จะให้ดีก็ควรมีกิจกรรมหลากหลายทั้งกลางแจ้ง และในร่มเผื่อไว้นะคะ เพราะสภาพอากาศเดี๋ยวนี้แปรปรวนซะเหลือเกิน
  
2.บอกกับคนรอบข้างว่าคุณตั้งใจจะออกกำลังกายให้เป็นนิสัย – เพราะมุมมองด้านการออกกำลังกายของคนรอบข้างก็สำคัญกับตัวคุณเช่นกัน และคุณอาจจะได้เพื่อนร่วมอุดมการณ์รักษ์สุขภาพมาร่วมออกกำลังเพิ่มอีกสักคนสองคนก็ได้นะคะ

 3.เริ่มทันที – อย่ามัวแต่ผัดวันประกันพรุ่ง นาทีนี้ต้องจริงจัง และตั้งใจอย่างเดียวค่ะ จำไว้ว่า ไม่มีใครช่วยคุณในเรื่องนี้ได้นอกจากตัวของคุณเอง
4.ออกกำลังทุกเช้า – จะช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่นสดใส และในตอนเช้าเรายังมีแรงเหลือเฟือที่จะออกกำลังกายค่ะ


5.ออกกำลังก่อนกลับบ้าน – การแวะออกกำลังกายระหว่างทางกลับบ้านเป็นตัวเลือกที่ดีรองลงมาจากออกกำลังกายตอนเช้า มีหลายคนที่เมื่อถึงบ้านแล้วจะไม่มีกะจิตกะใจจะเปลี่ยนเสื้อผ้าออกจากบ้านเพื่อมาออกกำลังกายค่ะ

 6.“เหนื่อย” ก็ต้องทำ – เพราะเมื่อออกกำลังกายเสร็จ คุณจะรู้สึกสดชื่น เนื่องจากเราหายใจได้ลึกขึ้น และร่างกายสูบฉีดออกซิเจนได้ดีขึ้น

 7.จดกิจกรรมต่างๆ ที่ทำ – ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ใช้ในการออกกำลังกายแต่ละวัน หรือจะเป็นน้ำหนักตัวที่ลดลง การจดสิ่งต่างๆ จะช่วยให้เรารู้ถึงความสามารถของตัวเอง และยังเป็นการท้าทายว่าจะสามารถทำได้ดีกว่าเดิมหรือเปล่า

 8.สังเกตถึงสัญญาณการเปลี่ยนแปลงต่างๆ – ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าที่หลวมกว่าเดิม หรือสามารถยกน้ำหนักได้มากกว่าเดิม ออกกำลังกายได้นานขึ้น เพื่อนฝูงพูดถึงรูปร่างที่ฟิตเฟิร์ม ดีไม่ดีผลตรวจร่างกายอาจจะดีกว่าเดิมจนคุณประหลาดใจเลยล่ะ

 9.เดินพร้อมกับเครื่องนับก้าว หรือจะพาน้องหมาไปเดินเล่นก็ได้ – การเดินเป็นการออกกำลังกายง่ายๆ เพียงวันละ 10 นาที 3 เวลา ก็จะเท่ากับคุณได้ออกกำลังวันละ 30 นาทีแล้วค่ะ หรือคุณอาจออกกำลังกายง่ายๆ ด้วยการพาเจ้าตูบที่บ้านไปเดินเล่นวันละ 2 ครั้งก็ได้ นอกจากจะได้ออกกำลังกายทั้งเจ้านายและสัตว์เลี้ยงแล้ว ยังทำให้เจ้าตูบได้ตื่นตาตื่นใจกับธรรมชาตินอกรั้วบ้านด้วย
  
10.ให้รางวัลตัวเองบ้าง – จะช่วยให้คุณมีแรงจูงใจที่จะทำต่อไปค่ะ เพราะฉะนั้น การตั้งรางวัลควบคู่กับเป้าหมายที่ตั้งขึ้น จะช่วยให้มีแรงฮึดขึ้นเยอะเลย